ท่านอาจารย์อุดม แสงหิรัญ และ ท่านอาจารย์พิศมัย แสงหิรัญ เป็นผู้ที่มีเจตนารมย์ที่แน่วแน่ต่อการศึกษาของชาติด้วยดีเสมอมา  
 

และเห็นสมควรว่าจะได้มีส่วนในการแบ่งเบาภาระงานด้านการศึกษาให้แก่ประเทศชาติ จึงได้ดำเนินการเปิดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นก่อนเป็นที่แรก
คือ "โรงแรียนแสงหิรัญ" ซึ่งตั้งอยู่ที่ เชิงสะพาน พระโขนง กรุงเทพมหานคร และเมื่อเห็นว่าการศึกษาระดับนี้ได้เจริญขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว จึงดำริที่จะ
ขยายการศึกษาให้สูงขึ้นไป

 
    ดังนั้นในปี พ.ศ.2512 ท่านทั้งสองจึงได้เปิดการศึกษาสายอาชีวศึกษาขึ้นอีกแห่งหนึ่ง คือ "โรงเรียนกรุงเทพช่างกล" ซึ่งท่านได้ทุ่มเทสติ
 
 

ปัญญาทั้งกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ เพื่อปรับปรุงการศึกษาสาขาช่างอุตสาหกรรมให้ดียิ่งขึ้น ในระยะแรกได้เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตร
วิชาชีพ 4 สาขาวิชา คือ แผนกช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างไฟฟ้า ช่างกลโรงงาน และช่างยนต์ ต่อมาในปี พ.ศ.2523 เห็นสมควรจะได้ยกระดับการศึกษาให้สูงขึ้น
เพื่อให้การศึกษาให้สูงขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ จึงได้ขยายการศึกษาให้สูงขึ้น ต่อเนื่องจากระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และได้เปลี่ยน
ชื่อโรงเรียน เพื่อสอดคล้องกับระดับการศึกษาเป็น “โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ” และเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ.2554 ให้โรงเรียนที่จัดการศึกษาประเภทอาชีวศึกษาใช้ชื่อ “วิทยาลัย” แทนคำว่า “โรงเรียน” ได้โรงเรียนจึงได้เปลี่ยนคำนำหน้าจาก “โรงเรียน
เทคโนโลยีกรุงเทพ” เป็น “วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ” และทำพิธี เปิดป้ายอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554

 
       
 
 
       
    และเนื่องจากเยาวชนของชาติอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่มีที่ศึกษาต่อด้านอาชีพ เพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพทางด้านธุรกิจ และด้าน  
 

และด้านอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการช่วยการพัฒนาประเทศชาติของเราให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ประกอบกับผู้บริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนทั่วประเทศ
ได้มอบความไว้วางใจโดยได้เลือกให้อาจารย์อุดม แสงหิรัญ เป็นนายกสมาคมโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย และจากมติของคณะรัฐมนตรี
โดยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการมีมติแต่งตั้งให้อาจารย์อุดม แสงหิรัญ เป็นกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาเอกชนอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงมี
โอกาสได้ใกล้ชิดงานการศึกษามากยิ่งขึ้น จากประสบการณ์และความใกล้ชิดกับงานด้านการศึกษาดังกล่าว จึงทำให้มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะช่วยงานด้าน
การศึกษาเพื่อส่วนรวมต่อไปอีก ดังนั้นท่านทั้งสองเห็น สมควรจะได้ขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก เพื่อที่จะได้ตอบสนองความต้องการของผู้ปกครอง และ
กุลบุตรธิดาได้มีสถานศึกษาวิชาชีพด้านธุรกิจเพิ่มขึ้น

 
       
   

วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ ถือเป็นเกียรติ และความภาคภูมิใจของคณะครู และนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง และความใกล้ชิดกับงานด้านการ

 
  ศึกษา ได้ก่อตั้งสถานศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ และวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงเทพ ดังนี้  
  พ.ศ. 2521 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร  
  พ.ศ. 2524 วิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคระยอง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง  
  พ.ศ. 2539 วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจกาญจนบุรี อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี  
  พ.ศ. 2541 วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ  
  พ.ศ. 2545 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคนิคบริหารธุรกิจกรุงเทพ ชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี  
  พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร